โครงการทรัพยากรชีวภาพปลากัดแห่งชาติ ประสบความสำเร็จในการถอดรหัสพันธุกรรม

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 

โครงการทรัพยากรชีวภาพปลากัดแห่งชาติ ประสบความสำเร็จในการถอดรหัสพันธุกรรมของจีโนมไมโทคอนเดรียของปลากัดป่ามหาชัยเป็นครั้งแรกของโลก
 

         โครงการทรัพยากรชีวภาพปลากัดแห่งชาติ (National Betta Bioresource Project) ซึ่งประกอบด้วยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สมาคมปลากัด ร่วมกับบริษัทวิชูโอ ไบโอเมดิคอล (ไทยแลนด์) จำกัด ประสบความสำเร็จในการถอดรหัสพันธุกรรมของจีโนมไมโทคอนเดรียที่สมบูรณ์ของปลากัดป่ามหาชัยเป็นครั้งแรกของโลก โดยจีโนมไมโทคอนเดรียมีขนาด 16,980 คู่เบส และพบข้อมูลลำคัญบนจีโนมเพื่อใช้สนับสนุนจัดทำฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ อนุกรมวิธาน เอกลักษณ์ทางพันธุกรรม และการแพร่กระจายของปลากัดป่า ซึ่งอาศัยอยู่ในแหล่งธรรมชาติของประเทศไทย

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

         รศ. ดร.ครศร ศรีกุลนาถ ในฐานะประธานโครงการฯ และคณะ กล่าวว่า จากข้อมูลการศึกษาในปัจจุบันพบว่าปลากัดป่ามหาชัยเป็นปลากัดที่พบในประเทศไทยเท่านั้น มักอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยบริเวณป่าจาก แถบจังหวัดสมุทรสาคร และอาจพบได้ในจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม ตลอดจนบางส่วนของพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตามเนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการคมนาคมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการคุกคามและทำลายแหล่งที่อยู่ของปลากัดป่ามหาชัยเป็นอย่างมาก ทำให้ปลากัดชนิดดังกล่าวเสี่ยงสูญพันธุ์ ข้อมูลจีโนมดังกล่าวจึงเป็นฐานข้อมูลสำคัญเพื่อต่อยอดการพัฒนาวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์และเข้าใจกลไกวิวัฒนาการและจุดกำเนิดของปลากัดป่ามหาชัย ซึ่งส่งเสริมงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของปลากัดป่ามหาชัย นอกจากนี้ทาง วช และ สมาคมปลากัดกำลังพยายามพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงปลากัดป่ามหาชัยเพื่อพัฒนาเป็นสัตว์เศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับประเทศในอนาคต และทดแทนการจับปลากัดป่ามหาชัยจากธรรมชาติ ข้อมูลจีโนมไมโทคอนเดรียของปลากัดจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญยิ่ง

         ข้อมูลจีโนมดังกล่าวได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร Mitochondrial DNA Part B: Resources เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2563 จีโนมไมโทคอนเดรียของปลากัดป่ามหาชัย (Betta mahachaiensis) นับเป็นจีโนมที่ 5 ของปลากัดป่า ต่อจาก ปลากัดอมไข่ภาคใต้ (B. simplex), ปลากัดภูเขาภาคใต้ (B. apollon), ปลากัดอมไข่น้ำแดงหรือป่าพรุ (B. pi) และ ปลากัดป่าภาคกลาง (B. splendens) ซึ่งได้รับการถอดรหัสพันธุกรรมด้วยคณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประกาศเมื่อ: 13 กรกฎาคม 2563

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ประจำปี 2563

รองศาสตราจารย์ ดร.นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์

ปีพ.ศ. 2563
28 ธันวาคม 2563
646
0
7 หน่วยงาน มก. ได้รับรางวัลโครงการสำนักงานสีเขียว

ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ปีพ.ศ. 2563
25 ธันวาคม 2563
1000
0
หุ่นยนต์โรยละอองยาฆ่าเชื้อโรคของ มก. ได้รับรางวัล ผลงานวิจัยฯเด่นตอบรับชีวิตวิถีใหม่

และการปรับตัวอันเนื่องมาจากภาวะวิกฤติโควิด-19

ปีพ.ศ. 2563
25 ธันวาคม 2563
587
0
คณาจารย์ นักวิจัย และอาจารย์อาคันตุกะ มก. TOP 2%

นักวิทยาศาสตร์ของโลก ที่มีผลงานตีพิมพ์และได้รับการอ้างอิงสูงสุด

ปีพ.ศ. 2563
24 ธันวาคม 2563
985
0