ตั้งอยู่ที่ภาควิชากีฏวิทยา ชั้น 2 คณะเกษตร มีการจัดแสดงตัวอย่างแมลงที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาชีวิตนิเวศวิทยาของแมลง
พิพิธภัณฑ์แมลง เป็นสถานที่เก็บรวบรวมและรักษาตัวอย่างแมลงโดยทั่วไป เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับงานศึกษา,วิจัย ของนักอนุกรมวิธาน นิสิต นักศึกษา หรือผู้สนใจเกี่ยวกับแมลงชนิดต่างๆ ทั้งที่มีคุณประโยชน์และที่มีโทษต่อมนุษย์ ทำให้เข้าใจถึงลักษณะความเป็นไปของแมลงต่าง ๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างได้ผล
สอบถามรายละเอียดโทร. 02-561-4882 กรุณาติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม
(เข้าชมเป็นหมู่คณะทำจดหมายเรียน หัวหน้าภาควิชากีฏวิทยาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์)
เปิดวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30–16.30 น.
ปิดวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ไม่เสียค่าเข้าชม)
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2544 ตั้งอยู่ชั้น 2 ตึกวินิจวนันดร คณะวนศาสตร์ บริเวณโถงด้านหน้าจะพบหุ่นจำลองของ รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา หรืออาจารย์เดชา ผู้หลงใหลกับเรื่องราวมดตัวจิ๋ว “มด" ถูกนำมาบอกเล่าเรื่องราวผ่านการจัดแสดงเป็น 4 ส่วน คือ
โดยเนื้อหาบอกเล่าตั้งแต่เรื่องต้นกำเนิดของมด ร่างกายของมด ความแตกต่างของมดกับแมลงทั่วไป อาหารของมด ความสัมพันธ์ระหว่างมดกับมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันมานาน, มดกับสิ่งแวดล้อม, มดกับพืชที่พึ่งพาอาศัยกัน และมดกับสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการนำมดสายพันธุ์ต่างๆ มาให้ศึกษาและส่องดูอย่างใกล้ชิดด้วย “แว่นขยายมด"
ตึกวินิจวนันดร ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : 0-2579 0176 ต่อ 510
คุณฟัก 080-457 1826
วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
(ปิดทำการวันเสาร์และวันอาทิตย์)
ประสานงานกับเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ก่อนเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นแหล่งเก็บรักษาสิ่งมีชีวิตในน้ำหลายประเภท ทั้งสัตว์น้ำ ปลาชนิดต่างๆ สาหร่ายชนิดต่างๆ รวมทั้งเครื่องมือประมงพื้นบ้าน อาคารพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่กลางน้ำ ภายในเป็นห้องโถงค่อนข้างใหญ่ พื้นที่ส่วนหนึ่งกั้นไว้สำหรับเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในน้ำเพื่อการวิจัยและอ้างอิง
อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่จัดแสดงสัตว์น้ำที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นสัตว์ที่สตัฟฟ์ไว้ บางชิ้นเป็นโครงกระดูก มีป้ายนิทรรศการที่ให้ข้อมูลชัดเจนอยู่ใกล้ๆ และมีรูปประกอบ ข้อมูลมีทั้งชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะทั่วไป ลักษณะเด่น แหล่งอาศัย และอาหาร
คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : 0-2942-8364 โทรสาร : 0-2942-8364
เว็บไซต์ :http://www.fish.ku.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์
8:30-16:30
ไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทางรถประจำทางสาย 26, 29, 34, 39, 59, 503, 524, 114, 522
ร่วมกับ บริษัทไบเออร์ไทย และ ไบเออร์ เอจี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Bayer AG, Germany) จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับผึ้ง หรือ Bee Learning Center ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นแห่งแรกของเอเชีย โดยศูนย์แห่งนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากผึ้งอย่างยั่งยืน และให้ความรู้แก่บุคคลทุกช่วงวัยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อทำความรู้จักเกี่ยวกับผึ้งใน ทุกมิติของแมลงผสมเกสร และช่วยกันอนุรักษ์ผึ้งให้คงอยู่ในระบบนิเวศเพื่อสร้างการเกษตรที่ยั่งยืน ผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัย ก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่มีบทบาทหน้าที่การทำงานที่เกี่ยวกับผึ้งทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ที่อยู่ศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับผึ้ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริเวณอาคารวิจัยกีฎวิทยา ด้านถนนวิภาวดีรังสิต (อยู่ในพื้นที่ด้านหลังของสวนกล้วยไม้ระพีสาคริก) แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
วันและเวลาทำการเปิดทำการทุกวันยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น. และทุกวันพุธ เวลา 9.00-10.00 น
ศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับผึ้ง (Bee Learning Center)
เว็บไซต์ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Fackbook : Bee learning
เพื่อใช้ในการเรียนการสอนด้านกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์สำหรับนิสิตสัตวแพทย์ นิสิตบัณฑิตศึกษาสาขากายวิภาคศาสตร์ รวมทั้งนิสิตในสาขาที่ใกล้เคียง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียน นักศึกษา ประชาชน ผู้สนใจทั่วไป
ติดตามรายละเอียดพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์ตั้งอยู่ที่บริเวณโถงชั้นล่างของอาคารเรียนและปฏิบัติการ อาคาร 4 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ใกล้กับสภาวิจัยแห่งชาติ ถนนพหลโยธิน มีพื้นที่ประมาณ 300 ตรม.
พิพิธภัณฑ์สัตววิทยาจัดแสดง นิทรรศการและตัวอย่างสัตว์ในรูปแบบความหลากหลายและวิวัฒนาการของ อาณาจักรสัตว์ที่พบในประเทศไทย ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กไปจนถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปนอกจากนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลและพัฒนางานวิจัยด้านความหลากหลายของสัตว์โดยบุคลากรของภาควิชาสัตววิทยา ตัวอย่างที่เป็น highlights ของพิพิธภัณฑ์สัตววิทยามีความหลากหลายในแง่ สถานภาพใกล้สูญพันธ์ หายาก และยังมีตัวอย่างจัดแสดงนิทรรศการถาวรที่ให้ความรู้หลากหลาย เช่น กลุ่มหอยทะเล จระเข้ นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน เช่นนิทรรศการกะดูก เป็นต้น ทั้งนี้
พิพิธภัณฑ์สัตววิทยายังเป็นแหล่งข้อมูลด้านการวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายของสัตว์ให้กับนักวิจัยไทยและต่างประเทศโดยมีส่วนที่เป็นตัวอย่างอ้างอิงมาจากงานวิจัยของคณาจารย์ซึ่งมีการค้นพบชนิดพันธ์ุใหม่ของโลกอย่างต่อเนื่อง เช่น แมลงชีปะขาว พยาธิตัวตืดปาดเรียวมลายู เป็นต้น
จัดดำเนินการ “พิพิธภัณฑ์วิถีข้าว" สำหรับให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา บุคคลทั่วไป นักวิจัย หรือผู้ที่เห็นความสำคัญของข้าวได้เข้าศึกษาวิถีข้าวไทย โดยมีการจัดนิทรรศการกำเนิดข้าวไทย ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ เกี่ยวกับข้าว การสาธิตกรรมวิธีการนวด สีข้าวทั้งแบบโบราณ โดยครกไม้ และการฝัดข้าว และวิธีการแบบสมัยใหม่โดยเครื่องสีข้าว เยี่ยมชมการดำเนินงานวิจัยด้านข้าวของ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องข้าว สร้างความเข้าใจในอาชีพการทำนาเพื่อปรับเจตคติให้เห็นความสำคัญของข้าวและอาชีพการทำนามากยิ่งขึ้น
โรงเรือนแล็บข้าว (หลังที่ 2) ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร
โทร. 02 5793130 / ภายใน 1326-7 ต่อ 125
Website : corsat.agr.ku.ac.th
ติดต่อผู้ดูแลเพื่อขอเข้าชม
email : agrtns@ku.ac.th
ภาษาที่เปิด : อังกฤษ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น รัสเซีย ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อิตาเลี่ยน โปรตุเกส เวียดนาม ลาว เขมร และอินโดนีเซีย
คอร์สเรียนของศูนย์ภาษา มีหลาย Levels ให้เลือก ตามความต้องการของทุกคน ไม่ว่าจะเป็น
การเรียนการสอน ใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและบุคลากรมืออาชีพในด้านนั้นๆเป็นผู้สอน
รายละเอียดเพิ่มเติม http://lang.human.ku.ac.th/