สถานที่สำคัญ

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อนุสาวรีย์
สามบูรพาจารย์

“สามเสือเกษตร"

หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ หลวงอิงคศรีกสิการ และพระช่วงเกษตรศิลปการ
Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เป็นฉายาที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีใช้เรียกแทนบุคคลทั้งสาม ด้วยท่านเหล่านี้ล้วนมีคุโณปการต่อวงการเกษตรและต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นเป็นผู้วางรากฐานการเกษตรและการศึกษาด้านเกษตรศาสตร์ของประเทศไทย

“ถือได้ว่าทั้งสามท่านได้ร่วมกันทำงานอย่างหนัก ผลที่มีต่อประเทศชาตินั้นจึงไม่สามารถแบ่งแยกจากกันได้"

พระพิรุณทรงนาค

“เป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"

ตั้งอยู่ ณ บริเวณหน้าอาคารสุวรรณ วาจกกสิกิจ พระพิรุณองค์ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงฐานที่ตั้งให้สูงขึ้นจากเดิมประมาณ 1.35 เมตร พร้อมกับยกระดับบ่อน้ำพุกลางให้สูงขึ้นอีก 1 เมตร เพื่อให้มีความสง่างามและโดดเด่นยิ่งขึ้น โดยใช้งบประมาณรายได้จากส่วนกลางเป็นจำนวนสองล้านเจ็ดแสนสองหมื่นบาทถ้วนและทำพิธีสักการะองค์พระพิรุณ ไปเมื่อวัน ที่ 16 กรกฏาคม พ.ศ.2547

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หอประชุมใหญ่

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สร้างเสร็จในปีพุทธศักราช 2500 เพื่อใช้เป็นสถานที่รับพระราชทานปริญญาบัตร ปัจจุบันได้ทำการบูรณะซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยแล้วและมีการใช้งานอยู่อย่างสม่ำเสมอ

ศาลาหกเหลี่ยม

รูปทรงและชื่อของอาคารหลังนี้เลียนแบบเรือนไม้หลังเดิม

ซึ่งเคยตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันนี้ ศาลาหกเหลี่ยมหลังเดิมจัดสร้างขึ้นโดยแผนกทดลองและเพาะเลี้ยง กรมประมง เมื่อประมาณปี พศ.2490 เพื่อเป็นสถานที่อำนวยความสะดวก สำหรับประชาชนที่มาติดต่อขอซื้อพันธุ์ปลา ต่อมากลายเป็นที่พำนักพักผ่อนของชาว มก.ในยุคที่รถยนต์โดยสารสาธารณะยังมีบริการด้านถนนพหลโยธินเป็นหลักและถูกใช้เป็นที่จอดรถจักรยานในเวลาต่อมา อาคารศาลาหกเหลี่ยมหลังใหม่เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กุมฦาพันธ์ 2542 สร้างขึ้นเพื่อแสดงเหตุการณ์สำคัญในประวัติของชาวเกษตร อันเนื่องด้วยพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเพื่อเป็นสถานที่จัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรและวิทยาการด้านต่างๆ

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ

สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2528

สามารถจุได้ประมาณ 3,000 ที่นั่ง เดิมเป็นอาคารอเนกประสงค์สำหรับใช้ในการแข่งขันกีฬา ปัจจุบันเป็นอาคารสำหรับงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรโครงการส่งเสริมความสามรถพิเศษภาคฤูุร้อน โครงการก้าวแรกสู่บัณฑิตยุคใหม่ โครงการเลือกแนวทางวางอนาคต ฯลฯ รวมทั้งยังเป็นสถานที่จำหน่ายและรับสมัครการสอบวัดความรู้เพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอีกด้วย

อาคารสารนิเทศ 50 ปี

เป็นอาคารสูง 10 ชั้น

จัดสร้างขึ้นในวาระครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเริ่มเข้าใช้อาคารเมื่อปี พ.ศ.2540 ส่วนบนดาดฟ้ามีธงชาติผืนใหญ่เพื่อเป็นการประกาศเฉลิมฉลองการก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 7 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันอาคารแห่งนี้ใช้เป็นอาคารบริหารและสำนักงานอธิการบดี

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สระสุวรรณชาด

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเงินรายได้จากการจำหน่ายเสื้อคุณทองแดง จำนวน 2,131,351 (สองล้านหนึ่งแสนสาม หมื่นหนึ่งพันสามร้อยห้าสิบเอ็ดบาทถ้วน) ให้กับทางโรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เพื่อสร้างสระว่ายน้ำสำหรับการรักษาแบบธาราบำบัดให้สุนัขที่ป่วยด้วยโรคข้อกระดูกและโรคระบบประสาท ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่อสระว่ายน้ำว่า “สระสุวรรณชาด"

สระว่ายน้ำ “สุวรรณชาด"

แบ่งโครงสร้างเป็นสองส่วน คือ ส่วนสระว่ายน้ำ ขนาด 15.35 เมตร X 3.80 เมตร มีความลึก 1.50 เมตร สำหรับสุนัขทั่วไปที่ต้องการออกกำลังกายและส่วนสระกายภาพบำบัด ขนาด 2.35 เมตร X 3.8 เมตร ลึก 1.50 เมตร ส่วนนี้จะประกอบไปด้วยหัวพ่นฟองอากาศจำนวน 4 หัว เพื่อให้เกิดการนวดตามกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและกระตุ้นระบบประสาทที่มีปัญหาโดยมีรอกที่ใช้ในการพยุงตัวสัตว์ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ส่วนนี้สำหรับสุนัขที่เป็นโรคข้อตะโพกหลวม โรค กระดูก หรือสุนัขที่เป็นอัมพฤกษ อัมพาต เป็นต้น

นนทรีทรงปลูก

ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกต้นนนทรีจำนวน 9 ต้น ณ บริเวณด้านหน้าอาคารหอประชุม มก. และพระราชทานต้นนนทรีเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และทรงดนตรีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เมื่อวันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2506 เวลา 15.30 น.

หลังจากนั้นได้มีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จฯ มาทอดพระเนตรเยี่ยมต้นนนทรีที่ทรงปลูกและทรงดนตรีร่วมกับวง อ.ส. และวงดนตรีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกหลายครั้ง คือวันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2507 วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2508 วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2510 วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2511 วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2512 วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2514 วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2514 และวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2515 ตามลำดับ

ต้นนนทรีทั้ง 9 ต้น

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้สร้างความเป็นสง่าราศี เป็นขวัญกำลังใจ เป็นจิตวิญญาณและให้ความร่มเย็น แก่เหล่าลูกนนทรีมาโดยตลอด ปัจจุบันนนทรีทั้ง 9 ต้นเจริญเติบโตเป็นไม้ใหญ่ เต็มวัย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 53 เซนติเมตร มีความสูงเฉลี่ย 15 เมตร มีพื้นที่เรือนยอดปกคลุม 123 ตารางเมตรต่อต้น หรือพื้นที่เรือนยอดรวม 1,108 ตารางเมตร ด้วยต้องยืนตระหง่านฝ่าร้อนฝ่าฝนและหนาวมาเป็นระยะเวลายาวนานย่อมถูก โรคภัยเบียดเบียน มหาวิทยาลัยได้เฝ้าดูแลต้นนนทรีทั้ง 9 ต้น ด้วยความใส่ใจมาตลอด พร้อมทั้งทำศัลยกรรมตกแต่งปิดโพรงภายในจากการทำลายของโรคอย่างถูกวิธี เพื่อให้นนทรีทั้ง 9 ต้นดำรงความเป็นเกียรติประวัติแก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สืบไป

หออนุสรณ์ 60 ปี มก.

เป็นสิ่งก่อสร้างถาวรซึ่งแสดงถึงความหมายที่สำคัญของการพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป็นจุดรวมทางสายตา เน้นให้เห็นถึงความสง่างามสมเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัย
โดยมีลักษณะเด่นคือ

ส่วนฐาน

เปรียบเหมือนแผ่นดินอันเป็นต้นกำเนิดของพืชพรรณ ฐานสามเหลี่ยมใหญ่หมายถึงสามบูรพาจารย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฐานสามเหลี่ยมย่อยแทนคณาจารย์และบุคลากรที่ร่วมสร้างมหาวิทยาลัยจาก อดีตไปจนถึงอนาคต ฐานตัวหอรูปหกเหลี่ยม หมายถึง วาระการครบรอบ 60 ปี ของ มก.

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ส่วนยอด

บรรจุแก้วเจียระไนรูปสามเหลี่ยมปิรามิดฐานสี่เหลี่ยม เพื่อสะท้อนแสงในงานเฉลิมฉลองช่วงเย็นถึงกลางคืน

ส่วนหอ

เปรียบเสมือนต้นข้าวอันเป็นตัวแทนของพืชพรรณซึ่งเติบโตขึ้นมาจากแผ่นดิน แล้วแตกยอดออกเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น สู่จุดสูงสุดที่ใช้ยอดสีทองแทนความหมาย

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ลวดลายฉลุ

เป็นโลหะสีทองฉลุลวดลายพืชพรรณบ่อน้ำและปลา อันเป็นต้นกำเนิดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลายดอกบัวให้ความหมายของการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ในการศึกษา

แคปซูลเวลา
Time Capsule

หมายถึง กล่องบรรจุสิ่งที่มีคุณค่า เพื่อแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ ความเป็นมาของวิถีชีวิตในขณะนั้น

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นผู้แทนพระองค์ไปประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเฉลิมพระเกียรติ 4 รอบพระชันษาจุฬาภรณ์และบรรจุแคปซูลเวลา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2549 ณ บริเวณ ลานหน้าหออนุสรณ์ 60 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

แคปซูลเวลา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นถังทรงกระบอก ทำด้วยสแตนเลสสตีล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 ฟุต สูง 4 ฟุต จำนวน 2 ชุด จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์คือ

เพื่อดำเนินการ

เนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 7 และครบรอบ 63 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เพื่อเก็บรักษาข้อมูล

ที่ได้คัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าสำคัญในอดีต ปัจจุบัน ตลอดจนแผนงานและแนวคิดในอนาคตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วม

เพื่อให้อนุชนรุ่นต่อไป

ได้ภาคภูมิใจในผลงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในอดีต

กำหนดเปิดแคปซูลเวลา

ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครบรอบการสถาปนา 99 ปี ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2585
  • เปิดแคปซูลเวลาเพื่อทำการตรวจสอบและศึกษาเนื้อหาและข้อมูลเดิมที่บรรจุในแคปซูลเวลา
  • ทำการบรรจุเนื้อหาและข้อมูลปัจจุบัน ณ ช่วงเวลาที่เปิดในแคปซูลเวลา ทำการผนึกแคปซูลเวลาเพื่อเก็บรักษาต่อไป
ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครบรอบการสถาปนา 199 ปี ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2685