เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน รองศาสตราจารย์ ดร.ชไมภัค ไม้กลัด ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับ (Welcoming Remarks) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและคณาจารย์ ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภพัชร์พิมล สิมลี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมาภรณ์ ศรีผดุงธรรม รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ดร.สมโชค เรืองอิทธินันท์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วรเศรษฐ สุวรรณิก ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วันรัฐ อับดุลลากาซิม รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ดร.วีรชญา จารุปรีชาชาญ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน รองศาสตราจารย์ ดร.วีกิตติ์ ศิริศักดิ์สุนทร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแผนงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ เจตธำรงชัย ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ และบุคลากรกองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมต้อนรับและหารือความร่วมมือกับคณะผู้บริหารจาก Taiwan External Trade Development Council (TAITRA) และคณะผู้ประกอบการจากอุตสาหกรรมไต้หวันในโอกาสเยือนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อย่างเป็นทางการ ดังนี้
1. Department of Investment Promotion (DOIP), Ministry of Economic Affairs (MOEA)
2. Invest Taiwan
3. Taipei Economic and Cultural Office in Thailand
4. Taiwan Trade Center, Bangkok
5. Taiwan External Trade Development Council
6. Chung-Jua Institution for Economic Research
7. Delta Electronics, Inc. and Delta Electronics (Thailand) PCL.
8. Industrial Technology Research Institute (ITRI)
9. Shianglong International LTD
10. Taiwan Hon Chuan Enterprise Co., Ltd.
11. SUNCUE CO. LTD
TRITRA หรือสภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกในไต้หวันผู้ไม่แสวงหาผลกำไร โดยมีสำนักงาน ณ ประเทศไทย ชื่อ Taiwan Trade Center Bangkok สภา TRITRA ได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากรัฐบาล สมาคมอุตสาหกรรม และองค์กรภาคเอกชน ภารกิจหลักของ TRITRA คือส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจและผู้ผลิตในไต้หวัน รวมถึงช่วยเหลือให้สามารถก้าวข้ามอุปสรรคในตลาดระหว่างประเทศได้ ในการเยือนครั้งนี้ คณะผู้บริหารและผู้ประกอบการจาก TRITRA มีความประสงค์หารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานของมก. ในฐานะสถาบันทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงเพื่อหารือความเป็นไปได้ในการแสวงหาบัณฑิตเพื่อเข้าทำงานในบริษัทไต้หวัน
Director Emilie M. P. Chang และ Executive Officer Pei-Chi Lai จาก MOEA ผู้นำของคณะผู้แทนฯ จากไต้หวันในการเยือนครั้งนี้ ได้แสดงความรู้สึกยินดีที่ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ก่อนที่คณะผู้แทนฯจะอธิบายจุดเด่นของการทำงานในไต้หวัน รวมถึงกระบวนการเบื้องต้น ตั้งแต่การยื่นขอใบอนุญาตทำงานและวีซ่า จนถึงกระบวนการคัดเลือกผู้สมัคร หลังจากนั้น ผู้ดำเนินรายการเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายหารือและซักถามข้อสงสัย ซึ่งคณะผู้แทนฯได้มีการซักถามเกี่ยวกับสถาบันวิจัยและนวัตกรรมในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้ Smart AI ในการทำงาน และมหกรรมหางานที่จัดภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในส่วนของมก. ได้มีการซักถามเกี่ยวกับระยะเวลาของโครงการฝึกงาน ณ ไต้หวัน ภายหลังการหารือ รองศาสตราจารย์ ดร.ชไมภัค ไม้กลัด ให้เกียรติมอบของที่ระลึกแก่ Director Emilie M. P. Chang และถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก พร้อมผู้เข้าร่วมการหารือทุกท่าน
เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567
ณ วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร จ.ลพบุรี วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567
และการติดตามโซเชียลมีเดียของสำนักหอสมุด