มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 

          วันที่ 2 มีนาคม 2566 ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกาศในเวทีการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 61 "เกษตรศาสตร์เพื่อมวลชน: พัฒนาศาสตร์แห่งแผ่นดิน สู่สุขภาวะอย่างยั่งยืน" "KASETSART for AIl: Expanding Knowledge of the Land towards Sustainable well-being" ประกาศสนับสนุนนโยบายลดโลกร้อนของประเทศ "KU Goes Green and Carbon Neutrality" รวมแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) ของประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG: Sustainable Development Goals) โดยต่อยอดจากมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) อย่างเป็นรูปธรรมภายในปี ค.ศ. 2035 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน  ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 80ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 

          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินงานตามกรอบแนวคิดของมหาวิทยาลัยสีเขียว (UI GreenMetric University) จากเกณฑ์การประเมิน 6 ด้าน คือ 1) สถานที่ตั้งและระบบสาธารณูปโภค 2) การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 3) การจัดการขยะหรือของเสีย 4) การใช้น้ำ 5) การจัดการระบบขนส่ง และ 6) การศึกษา/การวิจัย จนได้รับการจัดอันดับให้เป็นเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับที่ 1 ของไทยสองปีช้อน คือในปี 2021 และ ปี 2022 เป็นสถาบันการศึกษาสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุดในโลก อันดับที่ 40 มหาวิทยาลัยสีเขียวโลก

          เพื่อเป็นการสนองตอบต่อนโยบายก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย พร้อมกับวาระพิเศษ 80 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ประกาศกำหนดนโยบายและเป้าหมายในการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2035 โดยกำหนดแผนงานเชิงกลยุทธ์การจัดการก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
 

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 

  • มิติพลังงาน โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร การใช้พลังงานหมุนเวียน (Solar roof, Wind farm) การใช้รถโดยสารสวัสดิการภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แบบไฟฟ้า เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งปล่อยหลัก
  • มิติป่าไม้และพื้นที่สีเขียว โดยการประเมินความสามารถในการเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์จากพื้นที่ป้าไม้และสีเขียวของ 5 วิทยาเขต และ 26 สถานีวิจัย รวมประมาณ 13,000 ไร่ และเพิ่มพื้นที่อันเป็น การเพิ่มศักยภาพในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
  • มิติการทำการเกษตร โดยการสนับสนุนการเกษตรแบบแม่นยำ การใช้ปุ๋ยสั่งตัด การงด การเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เกษตรกรรม วิธีการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง การทำนาที่ยั่งยืน การนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจน การพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอาหารคาร์บอนต่ำ
  • มิติขยะและน้ำเสีย โดยการลดปริมาณการเกิดขยะที่แหล่งกำเนิด การคัดแยกขยะเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้ง การลดปริมาณการเกิดน้ำเสีย การปรับปรุงเทคโนโลยีและเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 

          เพื่อเป็นการริเริ่มแนวคิด Carbon Neutrality และเป็นต้นแบบแห่งการเรียนรู้ให้กับสังคม ก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการจัดงานคาร์บอนนิวทรัลเกษตรแฟร์ (Carbon Neutral Kaset Fair) เพื่อประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการจัดงานเกษตรแฟร์ โดยคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการร่วมกับนิสิตจิตอาสา จำนวน 75 คน จากนั้น ทำการชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด โดยการจัดซื้อคาร์บอนเครดิตขึ้นทะเบียนกับ TGO


Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

          การดำเนินงาน SDG 13: Climate Action ในปีนี้ จะมีการจัดทำข้อมูลเส้นฐานปริมาณ การปล่อยก๊าชเรือนกระจก เพื่อประเมินค่าคาร์บอนฟูตพริ้นท้ องค์กรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งที่เป็นแหล่งปล่อยและแหล่งกักเก็บจากพื้นที่ สีเขียว ครอบคลุมขอบเขตทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นับรวมทั้ง บางเขนวิทยาเขตกำแพงแสน ศรีราชา สกลนคร และสุพรรณบุรี ตลอดจน 26 สถานีวิจัย

 

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

          ทั้งนี้ กระบวนการก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่
          ขั้นที่ 1 คำนวณค่าเส้นฐาน (Baseline emissions) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทั้งหมดของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยกำหนดปีฐาน คือ ปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 ถึง กันยายน 2566)
          ขั้นที่ 2 จัดทำมาตรการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ มาตรการเพิ่มศักยภาพในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ดำเนินการโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อม คณะเกษตร และคณะวนศาสตร์
          ขั้นที่ 3 ประเมินปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการดังกล่าวข้างต้น
          ขั้นที่ 4 จัดทำรายงานแสดงปริมาณการปล่อย ปริมาณการกักเก็บ และปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก เทียบกับค่าเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          สอบถามข้อมูลเพิ่มเดิม: ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร อีเมล์ : ffordrs@ku.ac.th โทรศัพท์ : 0-2942-8189

Embed :
ประกาศเมื่อ: 3 มีนาคม 2566

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง