# ความเป็นมาและแนวทาง
# รูปแบบของ e-University
# การพัฒนาไปสู่การเป็น
e-University
  การประชุมอิเล็กทรอนิกส์
      (e-Meeting)
  ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์
      (e-Office)
  ระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์
      (e-Learning)
  ข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (e-News)
  ไวร์เลสแคมปัส
      (Wireless Campus)
  บริการอิเล็กทรอนิกส์
      (e-Service)
  การสร้างฐานข้อมูลงานวิจัย
      (e-Publication)
  ข่าวสารการเกษตร (e-Ag)
  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
      (e-Library)
  พัฒนา/ปรับปรุงระบบฐานข้อมูล
      เพื่อสนับสนุนงานบริหาร
      (e-Mis)
  พัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อม
     ด้านไอที (e-Personal)
  พัฒนาอาจารย์ให้มีความพร้อม
     ด้านไอที (e-Teacher)
  ปรับปรุงและขยายเครือข่าย
     ของมหาวิทยาลัย (e-Campus)
# แผนการดำเนินการในระยะต่อไป
 
เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้กับการเรียนการสอนการบริหารและการวิจัยของมหาวิทยาลัยให้ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อสังคมภายนอกได้ ดังกรอบนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีเป้าหมายให้เป็น e-University โดยผสมผสานกับกระบวนการจัดการแบบปกติในกรณีที่จำเป็น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประหยัด รวดเร็ว ปรับปรุงคุณภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน ให้มีความทันสมัย ก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนา การวิจัย เพื่อความเข้มแข็งทางวิชาการ ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แก่สังคมและชุมชน โดยได้วางแนวทางการดำเนินงานไว้ดังนี้

1. ในการบริหารยุคต่อไป การดำเนินการต้องถูกต้อง รวดเร็ว มีการใช้ข้อมูลข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพ (e-office) ลดค่าใช้จ่ายบางสิ่งบางอย่างที่ทำได้ทันที เช่น การสื่อสาร สิ่งพิมพ์ การบริหารจัดการ

2. ปฏิรูปการเรียนการสอนโดยใช้ไอทีเข้ามาช่วย เช่น การทำฐานข้อมูลกลาง ห้องสมุดดิจิตอล การเรียนการสอนทางไกล e-Learning การใช้สื่อ (e-Courseware) ต่าง ๆ กับการเรียนการสอน เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้มากขึ้น ซึ่งจากแผนฯ ของมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นขยายการศึกษาไปในหลายวิทยาเขตโดยการลดต้นทุน จะทำให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีแนวโน้มที่จะเป็นมหาวิทยาลัยปิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศยกเว้น มหาวิทยาลัยเปิดอย่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

3. เน้นความเข้มแข็งทางวิชาการและด้านวิจัยมุ่งไปสู่ Research University มี การพัฒนา องค์ความรู้ทางด้านงานวิจัย การวิจัยบนรากฐานการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คำนวณประสิทธิภาพสูง

4. การใช้ไอทีช่วยด้านประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และศิษย์เก่า รวมถึงการกระจายความรู้ทางด้านการเกษตรไปสู่ชุมชน โดยเน้นการบริการสารสนเทศการเกษตร (e-Ag)

มิติการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าสู่การเป็น e-University

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีแผนงานที่จะดำเนินการในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อไปให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนามิติต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของการก้าวสู่การเป็น e-University 5 มิติดังนี้
1. มิติของ e-Academic ประกอบด้วย การพัฒนา e-Library, e-Courseware, e-Classroom ตลอดจนระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบ class to class class to multiclass
2. มิติของ e-MIS ประกอบด้วย การทำให้มหาวิทยาลัยมีระบบบริหารงานบนพื้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบออนไลน์
3. มิติของ e-Research เพื่อตอบสนองนโยบายมหาวิทยาลัยในการเป็น Research University
4. มิติของ e-Service มุ่งเป็นการบริการแบบ 24/7 และเข้าถึงการบริการแบบ one stop service
5. มิติของ e-Goverment เป็นการเชื่อมโยงระบบการบริหารงานร่วมกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนข่าวสารโดยตรงแบบอิเล็กทรอนิกส์

รายงานการบริหารงานที่กำลังดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน

ได้ดำเนินงานในโครงการต่าง ๆ ข้างต้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้กระจายเป็นโครงการย่อย เพื่อสนับสนุนโครงการ e-University โครงการที่ดำเนินการไปแล้วประกอบด้วย