วาสุกรีอุ้มผาง พืชชนิดใหม่ของโลกโดยนักพฤกษศาสตร์

*วาสุกรีอุ้มผาง* ☘️ พืชชนิดใหม่ของโลกโดยนักพฤกษศาสตร์ เกษตร

 New Plant Species discovered by #TeamBotKU

          วาสุกรีอุ้มผาง (Viola umphangensis S. Nansai, Srisanga & Suwanph.) พืชชนิดใหม่ของโลก จัดอยู่ในวงศ์หน้าแมว (Violaceae) ถูกค้นพบโดย ว่าที่ร้อยตรีหญิง สุลิสา นานใส, ดร. ปรัชญา ศรีสง่า, Prof. Dr. Trevor R. Hodkinson และ รศ.ดร. เฉลิมพล สุวรรณภักดี จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม. เกษตรศาสตร์, องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และ Botany Department, Trinity College Dublin (TCD), The University of Dublin, Ireland ในขณะที่ดำเนินการวิจัยเรื่องการศึกษาทบทวนอนุกรมวิธานของพืชสกุลหน้าแมว (Viola) ในประเทศไทย ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทุนวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ พ.ศ. 2559 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยพบตัวอย่างพืชในปี พ.ศ. 2561 ศึกษา ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์และตีพิมพ์เป็นพืชชนิดใหม่ร่วมกัน ในปี พ.ศ. 2563 ในวารสาร Nordic Journal of Botany เล่มที่ 38 ฉบับที่ 4 วาสุกรีอุ้มผางถูกค้นพบครั้งแรกในป่าไผ่ผสมก่อ บริเวณดอยหัวหมด อ. อุ้มผาง จ. ตาก ซึ่งเป็นดอยที่มีลักษณะเอกลักษณ์ คือ เป็นภูเขาหินปูนไม่สูงมาก ทอดเป็นแนวยาวหลายลูกติดต่อกัน ไม่มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุม มีเฉพาะต้นไม้และหญ้าเตี้ยๆ หรือไม้ทนแล้ง ขึ้นกระจัดกระจาย โดยคำระบุชนิด “umphangensis” แสดงถึงชื่อ อำเภอที่พบพืชชนิดนี้ ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีลักษณะวิสัยเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี (perennial herb) สูง 7-21 ซม. ไม่มีไหล (stolon) ดอกมีสีขาว บริเวณตรงกลางดอกมีสีม่วง จึงเหมาะที่จะพัฒนาให้เป็นไม้กระถาง และปรับปรุงพันธุ์ให้ดอกมีลักษณะสีสันสวยงามแบบใหม่ ๆ เช่นเดียวกับดอกหน้าแมวหรือแพนซี (pansy) ในสกุลเดียวกันที่นิยมปลูกในแถบหนาว นอกจากนี้ยังมีศักยภาพเรื่องการนำมาสกัดสารเพื่อใช้ทดสอบฤทธิ์ เนื่องจากพืชในสกุลเดียวกันมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ทางยา เช่น V.tricolor, V.odorata, V.maculata เป็นต้น

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประกาศเมื่อ: 5 สิงหาคม 2563

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ประจำปี 2563

รองศาสตราจารย์ ดร.นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์

ปีพ.ศ. 2563
28 ธันวาคม 2563
645
0
7 หน่วยงาน มก. ได้รับรางวัลโครงการสำนักงานสีเขียว

ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ปีพ.ศ. 2563
25 ธันวาคม 2563
999
0
หุ่นยนต์โรยละอองยาฆ่าเชื้อโรคของ มก. ได้รับรางวัล ผลงานวิจัยฯเด่นตอบรับชีวิตวิถีใหม่

และการปรับตัวอันเนื่องมาจากภาวะวิกฤติโควิด-19

ปีพ.ศ. 2563
25 ธันวาคม 2563
585
0
คณาจารย์ นักวิจัย และอาจารย์อาคันตุกะ มก. TOP 2%

นักวิทยาศาสตร์ของโลก ที่มีผลงานตีพิมพ์และได้รับการอ้างอิงสูงสุด

ปีพ.ศ. 2563
24 ธันวาคม 2563
984
0