นิสิตปริญญาเอก มก. ค้นพบ Cymbalcloeon แมลงชีปะขาวสกุลใหม่ของโลก

นิสิตปริญญาเอก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ค้นพบ Cymbalcloeon แมลงชีปะขาวสกุลใหม่ของโลก

พบครั้งแรกและพบเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น
 

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 

          คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ นางสาวชนาพร สุทธินันท์ นิสิตระดับปริญญาเอก และ รศ.ดร. บุญเสฐียร บุญสูง (อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์) ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ Dr. Jean-Luc Gattolliat สังกัด Museum of Zoology เมืองโลซาน สมาพันธรัฐสวิส (อาจารย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม) ได้ค้นพบตัวอ่อนแมลงชีปะขาวสกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก คือ แมลงชีปะขาวเข็ม Cymbalcloeon sartorii ที่ลำธารห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และลำธารต้นน้ำเลย อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย นับเป็นการค้นพบครั้งแรกและพบเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น
 

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          รศ.ดร. บุญเสฐียร บุญสูง เปิดเผยถึงการค้นพบว่า สืบเนื่องจาก นางสาวชนาพร สุทธินันท์ นิสิตทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ระดับปริญญาเอก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้สนใจศึกษาและทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับความหลากหลายของตัวอ่อนแมลงชีปะขาววงศ์ Baetidae ในภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศไทย และได้ค้นพบตัวอ่อนแมลงชีปะขาวสกุลใหม่ของโลก โดยงานวิจัยชิ้นนี้ ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (BDC-PG4-161004) และโครงการทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และยังเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ คือ รศ.ดร. บุญเสฐียร บุญสูง และ Dr. Jean-Luc Gattolliat สังกัด Museum of Zoology เมืองโลซาน สมาพันธรัฐสวิส

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

          ลักษณะทั่วไปของแมลงชีปะขาว ถิ่นกำเนิด และลักษณะที่บ่งบอกว่าเป็นสกุลใหม่ของโลกนั้น รศ.ดร.บุญเสฐียร บุญสูง กล่าวว่า แมลงชีปะขาวสกุลใหม่จัดอยู่ในวงศ์  Baetidae มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากสกุลอื่นๆ ในวงศ์เดียวกันอย่างเห็นได้ชัด คือ มีแผ่นเหงือกคล้ายรูปหัวใจปล้องท้องที่ 5-7 เท่านั้นและคลุมไปด้านท้องถึงปล้องที่ 9 นอกจากนี้ยังมีลักษณะโครงสร้างปาก เช่น รูปร่างริมฝีปากล่าง แตกต่างชัดเจน โดยมีลักษณะที่จัดอยู่ในกลุ่ม Anteropatellata ของวงศ์ Baetidae มีความใกล้เคียงกับสกุล Baetopus อย่างไรก็ตามลักษณะรูปร่างตัว พฤติกรรม และตุ่มอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้คล้ายกับสกุล Cloeon การโบกเหงือกทั้ง 3 คู่ของตัวอ่อนแมลงชีปะขาวสกุลใหม่มีลักษณะเฉพาะจึงนำมาตั้งชื่อสกุล คือ Cymbalcloeon คล้ายกับการตีฉาบ มีอัตราการโบกเหงือกเร็วเฉลี่ยประมาณ 12 ครั้งต่อวินาที ซึ่งช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊ส แมลงชีปะขาวสกุลใหม่พบครั้งแรกและพบเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น

 

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

          แมลงชีปะขาวสกุลใหม่จัดอยู่ในวงศ์ Baetidae มักเรียกชื่อสามัญทั่วไปวงศ์นี้ว่า แมลงชีปะขาวเข็ม เนื่องจากลำตัวยาวเรียวและมีขนาดเล็กกว่าแมลงชีปะขาววงศ์อื่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ของแมลงชีปะขาวเข็มสกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก คือ Cymbalcloeon sartorii Suttinun, Gattolliat & Boonsoong, 2020 โดย specific epithet ตั้งชื่อเป็นเกียรติกับ Dr. Michel Sartori ผู้เชี่ยวชาญแมลงชีปะขาวระดับโลก

 

Kasetsart University - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 

          รศ.ดร. บุญเสฐียร บุญสูง ได้ให้ข้อคิดเห็นในด้านความหลากหลาย และการอนุรักษ์เกี่ยวกับการค้นพบตัวอ่อนแมลงชีปะขาวสกุลใหม่ของโลกในครั้งนี้ว่า สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรในประเทศไทย ตัวอ่อนพบอาศัยอยู่ในลำธารต้นน้ำที่มีคุณภาพดีจนถึงดีมาก การอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำและพื้นที่ป่าจะช่วยให้คงความหลากหลายทางชีวภาพแหล่งต้นน้ำไว้ และยังคงมีแมลงน้ำอีกมากที่ยังไม่ค้นพบ หากแหล่งอาศัยถูกทำลายด้วยหลายปัจจัย เช่น กิจกรรมของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ส่งผลทำให้แมลงน้ำที่มีอยู่หรือยังไม่ถูกค้นพบลดลงและสูญพันธุ์ไปได้

 

ข้อมูลอ้างอิง

  • Suttinun, C., Gattolliat, J-L& Boonsoong, B. 2020. Cymbalcloeon gen. nov., an incredible new mayfly genus (Ephemeroptera: Baetidae) from Thailand. PLoS ONE 15(10): e0240635. https://doi. org/10.1371/journal.pone.0240635
อัลบั้มภาพ :
CS_JL_BB.jpg
Fig 1.jpg
Fig 3.jpg
Fig 4.jpg
Fig 7.jpg
Fig 8.jpg
วีดีโอ :
S1Video
ประกาศเมื่อ: 21 ตุลาคม 2563

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ประจำปี 2563

รองศาสตราจารย์ ดร.นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์

ปีพ.ศ. 2563
28 ธันวาคม 2563
641
0
7 หน่วยงาน มก. ได้รับรางวัลโครงการสำนักงานสีเขียว

ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ปีพ.ศ. 2563
25 ธันวาคม 2563
992
0
หุ่นยนต์โรยละอองยาฆ่าเชื้อโรคของ มก. ได้รับรางวัล ผลงานวิจัยฯเด่นตอบรับชีวิตวิถีใหม่

และการปรับตัวอันเนื่องมาจากภาวะวิกฤติโควิด-19

ปีพ.ศ. 2563
25 ธันวาคม 2563
583
0
คณาจารย์ นักวิจัย และอาจารย์อาคันตุกะ มก. TOP 2%

นักวิทยาศาสตร์ของโลก ที่มีผลงานตีพิมพ์และได้รับการอ้างอิงสูงสุด

ปีพ.ศ. 2563
24 ธันวาคม 2563
980
0